ทนายเล่าเรื่อง

 

พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย 

บทกำหนดโทษ

                        มาตรา ๗๐ ผู้ใดไม่มาให้ถ้อยคํา หรือไม่ส่งเอกสารหรือวัตถุใด ๆ ตามที่คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการสั่งตามมาตรา ๑๔ หรือที่พนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือเรียก ตามมาตรา ๕๔ (๔) ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

                        มาตรา ๗๐/๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๐/๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

มาตรา ๗๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๑ มาตรา ๒๒ วรรคห้า มาตรา ๔๑หรือมาตรา ๔๓ วรรคสอง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

                        มาตรา ๗๒ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๒ วรรคหนึ่ง หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๒๒วรรคสอง หรือตามมาตรา ๒๓ วรรคสาม ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

                        มาตรา ๗๓ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๒๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

                        มาตรา ๗๔ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๓ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสิบปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

                        ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําโดยประมาทของผู้นําเข้า ผู้ส่งออกหรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายดังกล่าว ผู้กระทําต้องระวางโทษปรับไม่เกินแปดแสนบาท

                                                มาตรา ๗๔/๑ ผู้ใช้หรือผู้สนับสนุนในการกระทําความผิดซึ่งมีโทษตามมาตรา๗๓ หรือมาตรา ๗๔ ในส่วนที่เกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่๓ หรือชนิดที่ ๔ ซึ่งเป็นสารเคมีพิษหรือสารที่ใช้ผลิตสารเคมีพิษที่ระบุในอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมีตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ตามมาตรา ๑๘ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับตัวการในความผิดนั้น

                        มาตรา ๗๔/๒ การกระทําความผิดตามมาตรา ๗๓ หรือมาตรา ๗๔ ในส่วนที่เกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่๓ หรือชนิดที่ ๔ ซึ่งเป็นสารเคมีพิษหรือสารที่ใช้ผลิตสารเคมีพิษที่ระบุในอนุสัญญาห้ามอาวุธเคมีตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมตามมาตรา๑๘ หากผู้กระทําความผิดมีสัญชาติไทย แม้จะกระทํานอกราชอาณาจักรจะต้องรับโทษในราชอาณาจักร

                        ห้ามมิให้ลงโทษผู้นั้นในราชอาณาจักรเพราะการกระทํานั้นอีก ถ้า

                                                (๑) ได้มีคําพิพากษาของศาลในต่างประเทศอันถึงที่สุดให้ปล่อยตัวผู้นั้น หรือ

                                                (๒) ศาลในต่างประเทศพิพากษาให้ลงโทษและผู้นั้นได้พ้นโทษแล้วถ้าผู้ต้องคําพิพากษาได้รับโทษสําหรับการกระทํานั้นตามคําพิพากษาของศาลในต่างประเทศมาแล้วแต่ยังไม่พ้นโทษ ศาลจะลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกําหนดไว้สําหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้หรือจะไม่ลงโทษเลยก็ได้ ทั้งนี้โดยคํานึงถึงโทษที่ผู้นั้นได้รับมาแล้ว

                        มาตรา ๗๕ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๕ (๑) หรือมาตรา ๔๕ (๕) สําหรับกรณีเพิกถอนทะเบียนเพราะอาจเกิดอันตรายโดยไม่มีวิธีปกติตามควรที่จะป้องกันได้ถ้าเป็นการกระทําเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่๓ ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินเจ็ดปีหรือปรับไม่เกินเจ็ดแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

                        ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําโดยประมาทของผู้นําเข้า ผู้ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายดังกล่าวผู้กระทําต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท

                        มาตรา ๗๖ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๕ (๒) หรือมาตรา ๔๕ (๕) สําหรับกรณีเพิกถอนทะเบียนเพราะไม่มีประโยชน์ตามที่ขึ้นทะเบียนไว้ถ้าเป็นการกระทําเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่๓ ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปีหรือปรับไม่เกินห้าแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

                        ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําโดยประมาทของผู้นําเข้าผู้ส่งออกหรือผู้มีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายดังกล่าวผู้กระทําต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่แสนบาท

                        มาตรา ๗๗ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๕ (๓) ถ้าเป็นการกระทําเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่๓ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

                        ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําโดยประมาท ผู้กระทําต้องระวางโทษปรับไม่เกินแปดหมื่นบาท

                        มาตรา ๗๘ ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา ๔๕ (๔) ถ้าเป็นการกระทําเกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่๓ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปีหรือปรับไม่เกินสามแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

                        มาตรา ๗๙ ถ้าการกระทําตามมาตรา ๗๕ มาตรา ๗๖ มาตรา ๗๗ หรือมาตรา๗๘ เกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่๒ ผู้กระทําต้องระวางโทษสองในสามของโทษที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว

                        มาตรา ๘๐ ถ้าการกระทําตามมาตรา ๗๕ มาตรา ๗๖ มาตรา ๗๗ หรือมาตรา๗๘ เกี่ยวกับวัตถุอันตรายชนิดที่๑ ผู้กระทําต้องระวางโทษกึ่งหนึ่งของโทษที่บัญญัติไว้ในมาตราดังกล่าว

                        มาตรา ๘๑ ผู้ได้รับใบอนุญาตผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๓๐ หรือมาตรา ๓๑ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

                        มาตรา ๘๒ ผู้ใดโดยเจตนาก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในแหล่งกําเนิด สภาพคุณภาพ ปริมาณ หรือสาระสําคัญประการอื่นอันเกี่ยวกับวัตถุอันตรายไม่ว่าจะเป็นของตนเองหรือผู้อื่น ทํา หรือใช้ฉลากที่มีข้อความอันเป็นเท็จหรือข้อความที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าอาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเช่นว่านั้น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

                        ถ้าผู้กระทําความผิดตามวรรคหนึ่งกระทําผิดซ้ำอีกภายในหกเดือนนับแต่วันกระทําความผิดครั้งก่อน ผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองแสนบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

                        มาตรา ๘๓ ผู้ใดขายวัตถุอันตรายโดยไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่ฉลากหรือการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง หรือขายวัตถุอันตรายที่มีฉลากที่คณะกรรมการสั่งเลิกใช้หรือให้แก้ไขตามมาตรา ๕๐ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

                        ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําโดยประมาท ผู้กระทําต้องระวางโทษปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท

                        ถ้าการกระทําตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทําของผู้ผลิตหรือผู้นําเข้าผู้กระทําต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

                        มาตรา ๘๔ ผู้ใดโดยเจตนาหรือโดยประมาทรับจ้างทําฉลากที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือรับจ้างติดตรึงฉลากที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือรับจ้างทําลายส่วนอันเป็นสาระสําคัญของฉลากที่ถูกต้องตามกฎหมายสําหรับวัตถุอันตรายอย่างหนึ่งอย่างใดตามความในหมวด ๒ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

                        มาตรา ๘๕ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๕๒ วรรคหนึ่ง ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

                        มาตรา ๘๕/๑ ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๕๒/๑ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามเดือน หรือปรับไม่เกินสามหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

                        มาตรา ๘๖ ผู้ใดไม่อํานวยความสะดวกตามสมควรแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติการตามมาตรา ๕๔ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

                        มาตรา ๘๗ ในกรณีที่ศาลพิพากษาลงโทษบุคคลใดในความผิดตามมาตรา ๗๑หรือมาตรา ๗๒ และเป็นกรณีที่มีการยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาต ถ้ามีพฤติการณ์ให้เห็นว่าบุคคลดังกล่าวอาจจะกระทําความผิดเช่นนั้นอีก ศาลจะสั่งไว้ในคําพิพากษาห้ามการประกอบการเกี่ยวกับวัตถุอันตรายมีกําหนดเวลาไม่เกินห้าปีนับแต่วันพ้นโทษไปแล้วก็ได้

                        มาตรา ๘๗/๑ ผู้ใดเคยถูกลงโทษเพราะเหตุกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้แล้วครั้งหนึ่ง ถ้าได้กระทําผิดในบทบัญญัติเดียวกันกับที่เคยถูกลงโทษแล้วนั้นซ้ำอีก ให้ศาลเพิ่มโทษที่จะลงแก่ผู้นั้นอีกกึ่งหนึ่งของอัตราโทษสําหรับความผิดนั้น

                        มาตรา ๘๗/๒ ในกรณีที่นิติบุคคลกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้กรรมการ ผู้จัดการหรือผู้เชี่ยวชาญ บุคลากรเฉพาะหรือบุคคลใดซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการกระทําความผิดนั้น ต้องรับผิดตามที่บัญญัติไว้สําหรับความผิดนั้น ๆ ด้วยเว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทํานั้นได้กระทําโดยตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย

                        มาตรา ๘๘ วัตถุอันตรายที่ผลิต นําเข้าส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองโดยไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัตินี้ภาชนะของวัตถุอันตรายดังกล่าวเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องหรือทรัพย์สินใดบรรดาที่ศาลมีคําพิพากษาให้ริบ ให้ส่งมอบแก่หน่วยงานที่รับผิดชอบควบคุมวัตถุอันตรายดังกล่าวเพื่อทําลายหรือจัดการตามที่เห็นสมควรต่อไป

                        ในกรณีที่ต้องทําลายให้ศาลมีคําสั่งในคําพิพากษาให้เจ้าของชําระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นให้แก่ทางราชการด้วย

                        มาตรา ๘๙ บรรดาความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ที่มีโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือมีโทษปรับสถานเดียวให้คณะกรรมการมีอํานาจเปรียบเทียบได้และเมื่อผู้กระทําความผิดได้เสียค่าปรับตามที่เปรียบเทียบภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ผู้กระทําความผิดได้รับแจ้งให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

                        ในกรณีที่คณะกรรมการเห็นสมควรจะแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ให้มีอํานาจเปรียบเทียบก็ได้ ทั้งนี้การเปรียบเทียบให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกําหนด

                                                ในกรณีที่มีการยึดหรืออายัดของกลางที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ผู้มีอํานาจเปรียบเทียบตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสองจะเปรียบเทียบได้ในกรณีดังต่อไปนี้

                        (๑)ในกรณีที่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้เมื่อผู้กระทําความผิดยินยอมและได้แก้ไขของกลางที่ยึดหรืออายัดไว้ให้ถูก    ต้อง

                                                (๒) ในกรณีที่ไม่อาจแก้ไขให้ถูกต้องได้เมื่อผู้กระทําความผิดยินยอมให้ของกลางที่ยึดหรืออายัดไว้ตกเป็นของหน่วยงานที่รับผิดชอบควบคุมวัตถุอันตรายดังกล่าว

                        ในกรณีที่ผู้ยินยอมให้เปรียบเทียบได้แก้ไขของกลางให้ถูกต้องแล้วให้พนักงานเจ้าหน้าที่ถอนการอายัดของกลางนั้นเสีย

                        บรรดาสิ่งของที่ตกเป็นของหน่วยงานที่รับผิดชอบควบคุมวัตถุอันตรายดังกล่าวให้จัดการตามระเบียบที่รัฐมนตรีผู้รับผิดชอบกําหนด



บริษัทสำนักกฎหมายชมทรรศน์ สมบุตรจำกัด CHOMMATAT SOMBUT LAW OFFICE

โทร 086-558-9695 / 02-116-1310 / 02-161-0155 / E-mail: cmtlaw49@gmail.com ไอดีไลน์ @cmtlaw
ที่อยู่บริษัท 919/541 อาคารจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ชั้น49 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500