ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์ที่เกี่ยวกับสินค้าอุตสาหกรรม

ต่างๆ ความคิดสร้างสรรค์นี้จะเป็นความคิดในการประดิษฐ์คิดค้น การออกแบบผลิตภัณฑ์ทางอุตสาหกรรม ซึ่งอาจจะเป็นกระบวนการ หรือเทคนิคในการผลิตที่ได้ปรับปรุงหรือคิดค้นขึ้นใหม่ หรือที่เกี่ยวกับตัวสินค้า หรือผลิตภัณฑ์ที่เป็นองค์ประกอบและรูปร่างสวยงามของตัวผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ยังรวมถึงเครื่องหมายการค้าหรือยี่ห้อ ชื่อและถิ่นที่อยู่ทางการค้าที่รวมถึงแหล่งกำเนิดสินค้าและการป้องกันการแข่งขันทางการค้าที่ไม่เป็นธรรม ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม จึงสามารถแบ่งออกได้ดังนี้

 

1. สิทธิบัตร หมายถึง หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) การ

ออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) หรือ ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์ (Utility Model) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด

การประดิษฐ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับลักษณะองค์ประกอบโครงสร้างหรือกลไกของ

ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งกรรมวิธีในการผลิต การรักษาหรือปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์

การออกแบบผลิตภัณฑ์ คือ ความคิดสร้างสรรค์เกี่ยวกับการทำให้รูปร่างลักษณะภายนอกของ

ผลิตภัณฑ์เกิดความสวยงาม และแตกต่างไปจากเดิม

ผลิตภัณฑ์อรรถประโยชน์หรือที่เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอนุสิทธิบัตร (Petty Patent) จะมี

ลักษณะคล้ายกันกับการประดิษฐ์ แต่เป็นความคิดสร้างสรรค์ที่มีระดับการพัฒนาเทคโนโลยีไม่สูงมากหรือเป็นการประดิษฐ์คิดค้นเพียงเล็กน้อย

2. แบบผังภูมิของวงจรรวม หมายถึง แผนผังหรือแบบที่ทำขึ้นเพื่อแสดงถึงการจัดวางและการ

เชื่อมต่อของวงจรไฟฟ้า เช่น ตัวนำไฟฟ้า หรือตัวต้านทาน เป็นต้น

3. เครื่องหมายการค้า หมายถึง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์หรือตามที่ใช้กับสินค้า หรือบริการ

ได้แก่

            เครื่องหมายการค้า (Trade Mark) คือเครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายเกี่ยวข้องกับสินค้าเพื่อแสดงว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่น เช่น มาม่า กระทิงแดง เป็นต้น

            เครื่องหมายบริการ (Service Mark) คือ เครื่องหมายที่ใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับบริการ เพื่อแสดงว่าบริการที่ใช้เครื่องหมายนั้นแตกต่างกับบริการที่ใช้เครื่องหมายบริการของบุคคลอื่น เช่น เครื่องหมายของสายการบิน ธนาคาร โรงแรม เป็นต้น

            เครื่องหมายรับรอง (Certification Mark) คือ เครื่องหมายที่เจ้าของเครื่องหมายรับรองใช้เป็นที่หมายหรือเกี่ยวข้องกับสินค้าและบริการของบุคคลอื่น เพื่อเป็นการรับรองคุณภาพของสินค้า หรือบริการนั้น เช่น เชลล์ชวนชิม แม่ช้อยนางรำ ฮาราล เป็นต้น

            เครื่องหมายร่วม (Colective Mark) คือ เครื่องหมายการค้าหรือเครื่องหมายบริการที่ใช้โดยบริษัทหรือวิสาหกิจในกลุ่มเดียวกันหรือโดยสมาชิกของสมาคม กลุ่มบุคคล หรือองค์กรอื่นใดของรัฐหรือเอกชน เช่น ตราช้างของบริษัท ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด เป็นต้น

4. ความลับทางการค้า หมายถึง ข้อมูลการค้าที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป และมีมูลค่า

ในเชิงพาณิชย์เนื่องจากข้อมูลนั้นเป็นความลับ และมีการดำเนินการตามสมควรเพื่อรักษาข้อมูลนั้นไว้เป็นความลับ

5. ชื่อทางการค้า หมายถึง ชื่อที่ใช้ในการประกอบกิจการ เช่น โกดัก ฟูจิ เป็นต้น 

 

6. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ หมายถึง ชื่อ สัญลักษณ์ หรือสิ่งอื่นใด ที่ใช้เรียกหรือใช้แทนแหล่ง

ภูมิศาสตร์ และสามารถบ่งบอกว่าสินค้าที่เกิดจากแหล่งภูมิศาสตร์นั้นเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ ชื่อเสียง หรือคุณลักษณะเฉพาะของแหล่งภูมิศาสตร์นั้น เช่น มีดอรัญญิก ผ้าไหมไทย ส้มโอนครชัยศรี แชมเปญ คอนยัด เป็นต้น

กรรมสิทธิ์รวม

          การที่ นาย ก  นาย ข และนาย ค  เป็นเจ้าของผู้มีชื่อกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินโฉนดเลขที่ 001 จำนวน 10 ไร่ โดยมิได้มีการแบ่งแยกที่ดินให้แน่ชัดว่าเป็นส่วนของบุคคลใด

          เมื่อนาย ก  ต้องการนำที่ดินแปลงดังกล่าวนำไปใช้หนี้บัตรเครดิตที่ตนตกเป็นลูกหนี้ของธนาคารซึ่งเป็นโจทก์ตามคำพิพากษา  ครั้นนาย ก ได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินแปลงดังกล่าวกับธนาคาร  แต่มิได้บอกให้ผู้มีชื่อในกรรมสิทธิ์ที่ดิน  เพื่อให้ความยินยอมในการขายที่ดินในครั้งนี้

        แม้ว่าจะมีการทำสัญญาตาม ป.พ.พ มาตรา 453 และ มาตรา 456  เนื่องจากสัญญาฉบับนี้จะมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายก็ตาม หามีผลตาม ป.พ.พ มาตรา 455 ไม่

        โดยกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ยังไม่โอนไปยังผู้ซื้อขณะเมื่อทำสัญญา  เนื่องจากว่าที่ดินแปลงดังกล่าว เป็นกรรมสิทธิ์รวมซึ่ง นาย ข และ นาย ค มีส่วนในที่ดินด้วย ตาม ป.พ.พ มตรา 1357 และ มาตรา 1358  และผู้มีชื่อในกรรมสิทธิ์รวมมิได้ให้ความยินยอมตาม ป.พ.พ มาตรา 1361

        ดังนั้น  หากธนาคารต้องการที่จะฟ้องให้ นาย ก ปฏิบัติตามสัญญา นำสัญญาซื้อขายที่ดินที่ผู้มีกรรมสิทธิ์รวมมิได้ให้ความยินยอม  จะนำมาฟ้องบังคับให้นาย ก โอนที่แปลงดังกล่าวหาได้ไม่  เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 2875/28 เจ้าของผู้มีชื่อกรรมสิทธิ์ร่วมกับคนอื่น และมิได้แบ่งแยกว่าส่วนของใครอยู่ตอนไหนและมีเนื้อที่เท่าใด ถือว่าผู้มีโฉนดซึ่งถือกรรมสิทธิ์รวมยังเป็นเจ้าของรวม

       การที่ได้เอาที่ดินโดยมีเจ้าของรวมอื่นมิได้ยินยอม ไม่มีผลผูกพันเจ้าของรวมคนอื่น และนำสัญญามาฟ้องเพื่อบังคับให้จำเลยโอนที่ดินนั้นมิได้



บริษัทสำนักกฎหมายชมทรรศน์ สมบุตรจำกัด CHOMMATAT SOMBUT LAW OFFICE
โทร 086-558-9695 / 02-116-1310 / 02-161-0155 / E-mail: cmtlaw49@gmail.com ไอดีไลน์ @cmtlaw
ที่อยู่บริษัท 919/541 อาคารจิวเวลรี่ เทรด เซ็นเตอร์ ชั้น49 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร 10500